วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551

Technology take interest

MSI P45 DIAMOND














กลับมาพบกันอีกแล้วครับพี่น้องง วันนี้ผมมีเมนบอร์ดในระดับ TOP series จาก MSI มาให้ท่านชมกันครับผม ซึ่งเมนบอร์ดนั้นเป็นเมนบอร์ดจากค่ายอินเทล โดยใช้ขุมพลังจากชิพเซ็ต P45 จากอินเทลนั่นเองครับ ซึ่งในปัจจุบันชิพเซ็ต P45 นั้นได้รับความนิยมในเหล่าผู้ใช้ในหลายกลุ่มกันเลยทีเดียวครับ ซึ่งในคราวนี้ MSI ได้ส่งเมนบอร์ดในรุ่น P45 DIAMOND มาอีก 1 รุ่นในโอเวอร์คล๊อกโซนแห่งนี้ครับ ซึ่งจะขนฟีเจอร์อะไรมาอวดกันบ้างนั้นให้ติดตามชมกันได้เลยครับ




MSI P45 DIAMOND











สำหรับเมนบอร์ดตระกูล TOP อย่าง MSI P45 DIAMOND เราจะเห็นได้ว่าเอาใจขาโอเวอร์คล๊อกด้วยน้ำ โดยการออกแบบซิงค์เป็น water block กันไปเลยครับ ซึ่งในองค์ประกอบส่วนอื่นนั้นเช่นตัวเก็บประจุนั้นจะใช้ประเภท All-Solid Capacitor ตามสมัยนิยมครับ ตัวบอร์ดขนาด ATX ที่อัดแน่นไปด้วยฟีเจอร์ที่น่าสนใจ เช่น ปุ่ม switch สีแดงสดบนเมนบอร์ดสำหรับกลุ่มคนที่เล่นนอกเคส เพื่อสะดวกต่อการใช้งานนั่นเองครับ มาดูต่อในส่วนของภาคจ่ายไฟนั้นอาจไม่ได้เยอะมากมาย เพียง 6 เฟส ก็เพียงพอต่อการใช้งานได้ในระดับนึงเช่นกันครับ





MSI P45 DIAMONDDetails :
















ซีพียูนั้นรองรับในรุ่น Intel Socket 775 Core2 Quad/Core2 Extreme/Core2 Duo/Pentium D/Celeron dual-core /Celeron Processors รองรับ FSB 1600/1333/1066/800 ในส่วนขอมเมโมรี่นั้นจะมี 4 ช่อง, รองรับสูงสุดที่ . 8 GB, DDR3 /1600/1333/1066 Non-ECC,Un-buffered Memory ครับ








เรามาดูในส่วนของฮีตไปป์ระบายความร้อนชิพเซ็ต และภาคจ่ายไฟกันต่อน่ะครับ โดยจะเป็นระบบ hybrid cooling รองรับ 2ระบบทั้งระบบ Fanless และ water นั่นเองครับ







สำหรับบล๊อกน้ำที่ build-in นั้น ทาง MSI ก็ได้แถมท่อกับข้อต่อมาให้ ซึ่งได้เห็นในชุดที่บันเดิลมาให้อีกทีครับ

















ส่วนนี้เป็น jumper ที่มีหน้าไว้สำหรับ strap บัสของcpu โดยจะมี 4 โหมดดังนี้ 200>266>333>400ครับ ซึ่งในการโอเวอร์คล๊อกจะต้อง ใช้งานผ่าน jumperตัวนี้เพื่อที่จะโอเวอร์คล๊อกได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ





































Slot ต่างๆที่มีมาให้นั้นมีดังนี้ PCI-E 1X, 2ช่อง PCI-E 16X, 2ช่อง PCI Slots 2ช่อง ในส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆนั้นจะเป็นพอร์ต SATA IIจำนวน 6 ช่องพร้อมกับ E-SATA อีก 2ช่อง รองรับ RAID SATA RAID 0, RAID 1,RAID 10 and JBOD พร้อมกับพอร์ต IDE133/100/66,และพอร์ต Floppy เช่นเดียวกันครับ



























sound card คุณภาพเยี่ยม จาก creative มาในรุ่น extreme audio ตัวเป็นๆ โดยที่มาในอินเตอร์เฟส pci-x ความเร็ว 1x เรียกได้ว่าแค่ค่าตัวของมันก็พอสมควรเลยทีเดียว แต่สำหรับในรุ่นของ MSI P45 Platinum นั้นบันเดิลเป็น sound แยกมาให้ตะหากเลยครับ ทำให้ sound onboard ในรุ่นอื่นๆ หนาวๆกันไปตามระเบียบครับ




















ในส่วนของ GreenPower Genie ที่ได้บันเดิลมาให้นั้นเป็นอีกฟังก์ชั่นหนึ่งที่ช่วยให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น โดยจะมีวิธีประกอบและวิธีใช้งานเสร็จสรรพครับ







ในส่วน I/O back panel นั้นมีดังนี้ ช่อง PS2 2ช่อง,HotSwap SATA 2 ช่อง, RJ45 10/100/1000*2 ช่อง,USB 2.0 จำนวน 8 ช่องครับ








Box & Bundle











กล่องบันเดิลขนาดยักษ์ พร้อมของแถมกันเต็มอัตราเลยทีเดียวซึ่งนอกจากคู่มือและแผ่นซอฟแวร์ต่างๆแล้ว เราจะเห็นได้ว่ามีชุดสำหรับเล่นน้ำด้วยครับ ส่วนอื่นๆนั้นก็จะมีพอสังเขปดังนี้ บริจคอรสไฟร์, ฝาหลังเมนบอร์ด, สาย IDE, สายSATA,สาย 24 พินสำหรับต่อ Green Power Genie ครับ








































Credit : http://www.overclockzone.com/index.php




Boot Up


Start Boot Up




*****เริ่มต้นการทำงานของคอมพิวเตอร์ (Boot up) เมื่อทำการกดสวิทช์ Power On เครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่านสิ่งที่ต้องทำมาจาก BIOS (Basic Input Output System) โดย BIOS จะสั่งให้ทำกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่า POST(Power On Self Test) กระบวนการนี้ถูกบรรจุในหน่วยความจำ (MEMORY) ของคอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันมักจะเก็บใน EPROM (Erasable Programmable Read Only Memory) มากกว่า คือเป็นหน่วยความจำที่อ่านอย่างเดียว และไม่ต้องใช้กระแสไฟเลี้ยง แต่สามารถใช้กระแสไฟฟ้าเข้าไปลบ หรือแก้ไขโปรแกรมใน EPROM ได้ เรียกว่าการแฟลช (flash) ROM NOTE: การเริ่มต้นการทำงานของคอมพิวเตอร์ (BOOT UP) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Cold Boot ซึ่งเป็นการบูทที่เริ่มต้นจากการกดสวิทช์ Power On ของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์เริ่มการทำงาน POST และบูทตามลำดับ Warm Boot เป็นการสั่งบูทระบบใหม่ ด้วยการกดปุ่ม Reset หรือการกดปุ่ม Ctrl+Alt+Del หรือการสั่ง Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกได้ว่าเป็นการสั่งบูทด้วยซอฟต์แวร์





เมื่อเปิดเครื่องระบบทดสอบตนเองได้อย่างไรเมื่อเปิดสวิตซ์ไฟเครื่อง






*****ดูเหมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายวินาที แต่แท้จริงแล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณกำลังทำงานที่ซับซ้อนจำนวนมาก เพื่อตรวจสอบและทดสอบว่าชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบเข้ากับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ยังสามารถทำงานได้อย่างปกติหรือไม่ และถ้าไม่ เครื่องก็จะเตือนคุณด้วยเสียงหรือตัวอักษรอะไรบางอย่างบนหน้าจอ เป็นต้น กระบวนการนี้เป็นขั้นตอนแรกของเครื่องพีซีที่เรียกว่า บูตอัป (bootup)หรือที่เราเรียกกันง่าย ๆ ว่า “บูต” มาจากคำว่าบูตสแทรปปิ้ง (bootstrapping) หรืออาการเปลี่ยนจากนอนเป็นลุกขึ้นยืนโดยการดึงเชือกรองเท้าบูตของพวกคาวบอย (พวกคาวบอยจะใส่รองเท้าเวลานอน และมักจะตัวหนักเกินกว่าจะลุกขึ้นได้เองโดยลำพัง ส่วนใหญ่จะให้เพื่อนอีกคนส่งมือแล้วดึงลุกขึ้น แต่บางทีไม่มีคนช่วยจึงใช้การดึงเชือกรองเท้าเพื่อยกตัวขึ้นยืนแทน “ด้วยตัวเอง” วิธีการช่วยตัวเองเพื่อลุกขึ้นตั้งสติของพีซีแบบนี้ จึงลอกเลียนคำว่าบูตจากคาวบอยมาด้วยประการเช่นนี้การบูตเป็นสิ่งสำคัญ เพราะในระยะแรกเครื่องพีซีจะทำได้แค่ตรวจอุปกรณ์ที่มาต่อพ่วงกับมัน และทำให้มันมีชีวิตขึ้น ส่วนขั้นตอนการใช้งาน การจัดการ หรือการบริหารอุปกรณ์เหล่านี้ เครื่องพีซีจะโยนให้เป็นภาระของระบบปฏิบัติการหรือโอเอสแทน (หรือดอสนั่นเอง)เอาล่ะ ก่อนที่เราจะพูดถึงกลวิธีการบูตในบทต่อไป ในบทนี้เราสำรวจและศึกษาวิธีการทดสอบตนเองของเครื่องพีซีเมื่อครั้งแรกที่เปิดเครื่องก่อน กระบวนการนี้ฝรั่งจะเรียกว่า “โพสต์” ซึ่งมาจากคำว่า POST (Power-OnSelf-Test )โพสต์เป็นสิ่งแรกที่เครื่องพีซีทำเวลาที่เปิดเครื่องใหม่ ๆ โพสต์จะทำหน้าที่ตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ด ระบบแสดงผล หรืออุปกรณ์พื้นฐานอื่น ๆ มันจะส่งข้อความเตือนหรือเสียงเตือนถ้ามีอะไรที่ผิดพลาด เช่น เสียงปิ๊บ (beep) ครั้งเดียว และหน้าจอแสดงเครื่องหมายดอสพร็อมต์ เช่น เครื่องหมาย C:> เป็นต้น ก็แสดงว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่องได้ผ่านการทดสอบของโพสต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว (ในครั้งต่อไปที่พูดถึงเครื่องหมายดอส “พร็อมต์” ผู้เรียบเรียงขอใช้คำว่า “พร้อม” แทน เพราะดูเข้าท่าและสื่อความหมายนัยเดียวกันได้พอเหมาะพอเจาะ) แต่ในกรณีที่เกิดเสียงปิ๊บสั้นและยาวติดต่อกันหรือสลับกัน นั่นแสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นแล้วดังแสดงในตาราง


(เครื่องหมาย • แสดงเสียงปิ๊บสั้น และครื่องหมาย _ แสดงเสียงปิ๊บยาว)


Process POST (Power-On-Self-Test)

Process POST (Power-On-Self-Test)




**กระบวนการ power on self test (POST) ของเมนบอร์ด คือ การตรวจสอบความพร้อมของระบบโดยรวมของตัวเมนบอร์ดและอุปกรณ์ที่สำคัญของระบบ ก่อนที่จะทำการ เริ่มระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ถ้ากระบวนการ power on self test ทำงานได้ไม่สมบูรณ์ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามจะไม่สามารถเริ่มระบบปฏิบัตการได้ (ระบบปฏิบัติการ หรือ Operatinng system คือส่วนของโปรแกรมระบบ เช่น วินโดว์ ดอส หรือ โอเอสทู ลีนุกส์ เป็นต้น)กระบวนการ Power on self test เรื่มเมือใด?กระบวนการ power on self test จะเริ่มทำงานทันทีทีทำการ เปิดสวิทซ์ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (power on) แล้วจะเริ่มทำการตรวจสอบส่วนประกอบพิ้นฐานสำคัญต่างๆของคอมพิวเตอร์






1. เมื่อเปิดเครื่องกระแสไฟฟ้าจะกระตุ้นให้ซีพียูเริ่มทำงาน โปรแกรมถาวรที่ฝังภายในตัวซีพียูจะเริ่มทำงานโดยการล้างหน่วยความจำภายในซีพียู หรือที่เรียกกันว่า รีจิสเตอร์ (register) ให้ว่างเปล่า จากนั้นกำหนดให้ริจิสเตอร์ตัวหนึ่งที่ชื่อว่าโปรแกรมเคาร์เตอร์มีค่าตำแหน่งเฉพาะค่าหนึ่ง (program counter ทำหน้าที่จดจำหมายเลขหน่วยความจำที่จะทำการดึงคำสั่งโปรแกรมขึ้นมาทำงาน) โดยถ้าเป็นเครื่องรุ่นAT จะเริ่มทำงานที่แอดเดรสหรือตำแหน่งที่เลขฐานสิบหกที่ F000 ซึ่งเป็นตำแหน่งเริ่มต้นของโปรแกรมบูตนั่นเอง ข้อสังเกต เราจะใส่โปรแกรมบูต “ส่วนแรก” ลงในหน่วยความจำถาวรที่เรียกว่า รอม (ROM :Read-Only Memory ) และส่วนที่สองลงในแผ่นดิสก์ที่มีโอเอส ดังนั้นเมื่อปิดเครื่องโปรแกรมก็ยังคงไม่หายไปไหน เมื่อกลับมาเปิดเครื่องใช้ใหม่ ซีพียูก็จะสามารถอ่านโปรแกรมบูตนี้ได้เหมือนเดิม รอมที่ว่านี้อาจเรียกว่า ไบออส (BIOS : Basic Input/Output System) ก็ได้






2. ซีพียูใช้ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงครั้งแรกนี้ เรียกคำสั่งแรกของโปรแกรมบูตของรอมไบออสขึ้นมา ซึ่งเท่ากับเป็นการเริ่มการบวนการ “โพสต์” โดยเริ่มแรกจะเป็นคำสั่งให้ซีพียูทำการตรวจสภาพตัวซีพียูเองว่าสมบูรณ์หรือไม่ จากนั้นโปรแกรมก็จสั่งให้ซีพียูลองย้อนกลับไปตรวจสอบโปรแกรมโพสต์ว่าถูกต้องหรือไม่ โดยการอ่านพื้นที่หลาย ๆ พื้นที่ของโปรแกรมภายในรอม แล้วลองเทียบกับตัวเลขที่ตอนบันทึกไว้ตั้งแต่ตอนเริ่มสร้างรอม













3. ซีพียูส่งสัญญาณไปทั่วระบบบัสเพื่อให้มั่นใจว่าชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ busคือ กลุ่มของสายไฟที่ใช้เป็นเส้นส่งถ่ายคำสั่งและข้อมูลระหว่างชิ้นส่วนหรือระหว่างซีพียูกับชิ้นส่วนต่าง ๆหรืออาจกล่าวว่า บัส หมายความว่า วงจรไฟฟ้าเชื่อมชิ้นส่วนที่สำคัญต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และทำให้ชิ้นส่วนเหล่านี้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ )













4. ซีพียูทำการตรวจว่ามีโปรแกรมภาษาเบสิกอยู่หรือไม่ และสมบูรณ์หรือไม่ จากนั้นจะหันไปทำการตรวจสอบตัวกำเนิดสัญญาณนาฬิการ (timer) ซึ่งบางทีเราจะเรียกว่าคริสตัล (crytal) ทั้งนี้ให้มั่นใจว่าจะทำงานเพรียงกันได้อย่างสมบูรณ์ (ตัวกำเนิดสัญญาณนาฬิกาจะเป็นตัวกำหนด “จังหวะ” การทำงานของชิ้นส่วนต่าง ๆ รวมทั้งตัวซีพียู และเจ้าตัวนี้เองที่มีหน่วยเป็นเมกะเฮิรตซ์ (MHZ) เช่น เครื่อง 486-50 ก็มักหมายความว่าเป็นเครื่องพีซีที่ใช้คริสตัลความเร็ว 50 เมกะเฮิรตซ์ หรือทำงาน 50 ล้านจังหวะต่อวินาทีนั่นเอง )





5. ต่อมากระบวนการ “โพสต์” ก็จะทำการตรวจหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผล (Monochrome, EGA,VGA ฯลฯ) และสัญญาณภาพ (video signal) เมื่อพบว่าสมบูรณ์ก็จะนำโปรแกรมไบออสที่อยู่บนการ์ดแสดงผลมาผนึกรวมเป็นส่วนหนึ่งของไบออสระบบและกำหนดคุณสมบัติให้กับหน่วยความจำ ถึงตอนนี้คุณจะเริ่มเห็นอะไรบางอย่างปรากฏที่จอมอนิเตอร์เป็นครั้งแรก






6. โพสต์จะทำการตรวจสอบหน่วยความจำหลักที่อยู่บนเมนบอร์ดซึ่งมักจะเป็นแรม (RAM) การทดสอบทำได้โดยการเขียนข้อมูลลงแรม แล้วทดสอบอ่านกลับดูว่าเหมือนกับข้อมูลที่เขียนลงไปในครั้งแรกหรือไม่ในช่วงนี้เองที่ผู้ใช้จะเห็นตัวเลขวิ่งที่หน้าจอ





7. ซีพียูตรวจว่ามีคีย์บอร์ดเสียบอยู่หรือไม่ และมีใครกดปุ่มคีย์ไหนค้างอยู่




8. โพสต์จะส่งสัญญาณไปยังบัสของดิสก์ไดร์ฟต่าง ๆ และฟังสัญญาณโต้กลับว่าไดร์ฟไหนพร้อมที่จะทำงาน



9. สำหรับเครื่อง AT หรือเครื่องรุ่นใหม่ ๆ กระบวนการโพสต์จะทำการเปรียบเทียบผลการตรวจสอบอุปกรณ์กับข้อมูลที่บันทึกไว้ในซีมอส (CMOS) ถ้าข้อมูลไม่ต้องกับที่โพสต์ตรวจสอบมา โพสต์ก็อาจจะเข้าสู่โปรแกรมเซตอัปเพื่อให้เรากำหนดชนิดของอุปกรณ์ใหม่ (ซีมอสเป็นชนิดของชิปหน่วยความจำ มันสามารถเก็บข้อมูลได้นานตราบเท่าที่เราป้อนไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ให้) อนึ่ง ข้อมูลภายในซีมอสจะไม่หายไปเมื่อมีการปิดไฟเครื่อง แต่จะหายไปได้ในกรณีที่เราใช้แบตเตอรี่มานาน แล้วแบตเตอรี่ไฟหมด (เครื่องพีซีรุ่น XTจะไม่มีหน่วยความจำซีมอสนี้)


10. บางเครื่องที่มีการใส่อุปกรณ์ที่มีไบออสของมันเอง เช่น การ์ดควบคุมดิสก์ชนิด SCSI (อ่านว่าสกัสซี่)โปรแกรมไบออสของการ์ดหรืออุปกรณ์เหล่านี้จะถูกจดจำและผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของไบออสระบบ ก่อนที่เครื่องพีซีจะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปในการบูต ซึ่งเป็นการโหลดหรือบรรจุโอเอสจากดิสก์ลงสู่หน่วยความจำ

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551

Unix and Linux





ยูนิกซ์ (Unix แต่ชื่อตามเครื่องหมายการค้าคือ UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบหลายงาน หลายผู้ใช้ ที่เริ่มพัฒนาโดยกลุ่มพนักงานของห้องปฏิบัติการ AT&T Bell Labs โดยกลุ่มนักพัฒนาที่เป็นที่รู้จัก คือ Ken Thompson, Dennis Ritchie และ Douglas McIlroy








ประวัติ





ในทศวรรษที่ 60 สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) , AT&T Bell Labs และบริษัท General Electric ได้ร่วมมือกันวิจัยระบบปฏิบัติการที่ชื่อว่า Multics (ย่อมาจาก Multiplexed Information and Computing Service) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำงานบนเครื่องเมนเฟรมรุ่น GE-645 แต่ภายหลัง AT&T ได้ถอนตัวออกจากโครงการนี้Ken Thompson ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมพัฒนาในขณะนั้น ได้เขียนเกมบนเครื่อง GE-645 ชื่อว่าเกม Space Travel และพบปัญหาว่าเกมทำงานได้ช้ากว่าที่ควร เขาจึงย้ายมาเขียนเกมใหม่บนเครื่อง PDP-7 ของบริษัท DEC แทนด้วยภาษาแอสเซมบลี โดยความช่วยเหลือของ Dennis Ritchie ประสบการณ์เหล่านี้ทำให้ Thompson หันมาพัฒนาระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PDP-7ระบบ ปฏิบัติการนี้มีชื่อว่า UNICS ย่อมาจาก Uniplexed Information and Computing System เนื่องจากว่าการออกเสียงสามารถสะกดได้หลายแบบ และพบปัญหาชื่อใกล้เคียงกับ Multics ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Unixการ พัฒนายูนิกซ์ในช่วงนี้ยังไม่ได้รับความสนับสนุนด้านการเงินจาก Bell Labs เมื่อระบบพัฒนามากขึ้น Thompson และ Ritchie จึงสัญญาว่าจะเพิ่มความสามารถในการประมวลผลคำ (Word Processing) บนเครื่อง PDP-11/20 และเริ่มได้รับการตอบรับจาก Bell Labs ในปีค.ศ. 1970 ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงได้รับการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการ โปรแกรมประมวลผลคำมีชื่อว่า roff และหนังสือ UNIX Programmer's Manual ตีพิมพ์ครั้งแรกวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1971
ค.ศ. 1973 ได้เขียนยูนิกซ์ขึ้นมาใหม่ด้วยภาษาซี ทำให้สะดวกต่อการนำยูนิกซ์ไปทำงานบนเครื่องชนิดอื่นมากขึ้น ทาง AT&T ได้เผยแพร่ยูนิกซ์ไปยังมหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล โดยสัญญาการใช้งานเปิดเผยซอร์สโค้ด ยกเว้นเคอร์เนลส่วนที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลียูนิกซ์เวอร์ชัน 4,5 และ 6 ออกในค.ศ. 1975 ได้เพิ่มคุณสมบัติ pipe เข้ามา ยูนิกซ์เวอร์ชัน 7 ซึ่งเป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่พัฒนาแบบการวิจัย ออกในค.ศ. 1979 ยูนิกซ์เวอร์ชัน 8,9 และ 10 ออกมาในภายหลังในทศวรรษที่ 80 ในวงจำกัดเฉพาะมหาวิทยาลัยบางแห่งเท่านั้น และเป็นต้นกำเนิดของระบบปฏิบัติการ Plan 9ค.ศ. 1982 AT&T นำยูนิกซ์ 7 มาพัฒนาและออกขายในชื่อ Unix System III แต่บริษัทลูกของ AT&T ชื่อว่า Western Electric ยังคงนำยูนิกซ์รุ่นเก่ามาขายอยู่เช่นกัน เพื่อยุติความสับสนทางด้านชื่อ AT&T จึงรวมการพัฒนาทั้งหมดจากบริษัทและมหาวิทยาลัยต่างๆใน Unix System V ซึ่งมีโปรแกรมอย่าง vi ที่พัฒนาโดย Berkeley Software Distribution (BSD) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ รวมอยู่ด้วย ยูนิกซ์รุ่นนี้สามารถทำงานได้บนเครื่อง VAX ของบริษัท DEC
ยูนิกซ์ รุ่นที่เป็นการค้าไม่เปิดเผยซอร์สโค้ดอีกต่อไป ทางมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ จึงพัฒนายูนิกซ์ของตัวเองต่อเพื่อเป็นทางเลือกกับ System V การพัฒนาที่สำคัญที่สุดคือเพิ่มการสนับสนุนโพรโทคอลสำหรับเครือข่าย TCP/IP เข้ามาบริษัท อื่นๆ เริ่มพัฒนายูนิกซ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของตนเอง โดยส่วนมากใช้ยูนิกซ์ที่ซื้อสัญญามาจาก System V แต่บางบริษัทเลือกพัฒนาจาก BSD แทน หนึ่งในทีมพัฒนาของ BSD คือ Bill Joy มีส่วนในการสร้าง SunOS (ปัจจุบันคือ โซลาริส) ของบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ค.ศ. 1981 ทีมพัฒนา BSD ได้ออกจากมหาวิทยาลัยและก่อตั้งบริษัท Berkeley Software Design, Inc (BSDI) เป็นบริษัทแรกที่นำ BSD มาขายในเชิงการค้า ในภายหลังเป็นต้นกำเนิดของระบบปฏิบัติการ FreeBSD, OpenBSD และ NetBSDAT&T ยังคงพัฒนาความสามารถต่างๆ เข้าสู่ยูนิกซ์ System V และรวมเอา Xenix (ยูนิกซ์ของบริษัทไมโครซอฟท์SunOS เข้า) , BSD และ มารวมใน System V Release 4 (SVR4) เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งเดียวสำหรับลูกค้า ซึ่งเพิ่มราคาขึ้นอีกมากหลังจากนั้นไม่นาน AT&T ขายสิทธิ์ในการถือครองยูนิกซ์ให้กับบริษัทโนเวลล์ และโนเวลเองได้สร้างยูนิกซ์ของตัวเองที่ชื่อ UnixWare ซึ่งพัฒนามาจากระบบปฏิบัติการ NetWare เพื่อแข่งกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นทีของไมโครซอฟท์ค.ศ. 1995 โนเวลขายส่วนต่างๆ ของยูนิกซ์ให้กับบริษัท Santa Cruz Operation (SCO) โดยโนเวลยังถือลิขสิทธิ์ของยูนิกซ์ไว้ ค.ศ. 2000 SCO ขายสิทธิ์ส่วนของตนเองให้กับบริษัท Caldera ซึ่งเปลี่ยนชื่อภายหลังเป็น SCO Group ซึ่งเป็นสาเหตุในการดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์กับลินุกซ์

























ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) คือระบบปฏิบัติการที่นิยมตัวหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ลินุกซ์มีลักษณะคล้ายระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ โดยมีลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกันเริ่ม แรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพกการ์ด และ โนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวีดีโอลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิม ต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft



ประวัติ



ผู้เริ่มพัฒนาลินุกซ์เป็นคนแรก คือ ลินุส โตร์วัลดส์ (Linus Torvalds) ชาวฟินแลนด์ เมื่อสมัยที่เขายังเป็นนักศึกษาคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ปี พ.ศ. 2526 ริชาร์ด สตอลแมน (Richard Stallman) ได้ก่อตั้งโครงการกนูขึ้น จุดมุ่งหมายโครงการกนู คือ ต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติการคล้ายยูนิกซ์ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งระบบ ราวช่วงพ.ศ. 2533 โครงการกนูมีส่วนโปรแกรมที่จำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการเกือบครบทั้งหมด ได้แก่ คลังโปรแกรม คอมไพเลอร์ โปรแกรมแก้ไขข้อความ และเปลือกระบบยูนิกซ์ ซึ่งขาดแต่เพียงเคอร์เนลเท่านั้น ในพ.ศ. 2533 โครงการกนูได้พัฒนาเคอร์เนลชื่อ Hurd เพื่อใช้ในระบบกนูซึ่งในขณะนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับความเร็วในการประมวลผลในพ.ศ. 2534 โตร์วัลดส์เริ่มโครงการพัฒนาเคอร์เนล ขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว โดยอาศัย Minix ซึ่งเป็นระบบที่คล้ายกับ Unix ซึ่งมากับหนังสือเรื่องการออกแบบระบบปฏิบัติการ มาเป็นเป็นต้นแบบในการเขียนขึ้นมาใหม่โดย Torvalds เขาพัฒนาโดยใช้ IA-32 assembler และภาษาซี คอมไพล์เป็นไฟล์ไบนารี่และบูทจากแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ เขาได้พัฒนามาเรื่อยๆจนกระทั่งสามารถบูทตัวเองได้ (กล่าวคือสามารถคอมไพล์ภายในลินุกซ์ได้เลย) และในปัจจุบันมีนักพัฒนาจากพันกว่าคนทั่วโลกได้เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนา โครงการ Eric S. Raymond ได้ศีกษากระบวนการพัฒนาดังกล่าวและเขียนบทความเรื่อง The Cathedral and the Bazaarในรุ่น 0.01 นี้ถือว่ามีเครื่องมือที่เพียงพอสำหรับระบบ POSIX ที่ใช้เรียก ลินุกซ์ ที่รันกับ กนู Bash Shell และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและอย่างรวดเร็วโตร์วัลดส์ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาระบบต่อไป ซึ่งต่อมาก็สามารถรันบน X Window System และมีการเลือกนกเพนกวินที่ชื่อ Tux ให้เป็นตัวนำโชคหรือ Mascot ของระบบลินุกซ

การใช้งาน

การ ใช้งานดั้งเดิมของลินุกซ์ คือ ใช้เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ แต่จากราคาที่ต่ำ ความยืดหยุ่น พื้นฐานจากยูนิกซ์ ทำให้ลินุกซ์เหมาะกับงานหลาย ๆ ประเภทลิ นุกซ์ ถือเป็นส่วนสำคัญของซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่า LAMP ย่อมาจาก Linux, Apache, MySQL, Perl/PHP/Python ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ และพบมากสุดระบบหนึ่ง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ซึ่งพัฒนาสำหรับระบบนี้คือ มีเดียวิกิ ซอฟต์แวร์สำหรับวิกิพีเดียเนื่องจากราคาที่ต่ำและการปรับแต่งได้หลากหลาย ลินุกซ์ถูกนำมาใช้ในระบบฝังตัว เช่นเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ลินุกซ์เป็นคู่แข่งที่สำคัญของ ซิมเบียนโอเอส ซึ่งใช้ในโทรศัพท์มือถือจำนวนมาก และใช้แทนวินโดวส์ซีอี และปาล์มโอเอส บนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา เครื่องบันทึกวีดิโอก็ใช้ลินุกซ์ที่ดัดแปลงเป็นพิเศษ ไฟร์วอลล์และเราเตอร์หลายรุ่น เช่นของ Linksys ใช้ลินุกซ์และขีดความสามารถเรื่องทางเครือข่ายของมันระยะหลังมีการใช้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการของซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก ขึ้น ในรายชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์ TOP500 ของเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดสองอันดับแรกใช้ลินุกซ์ และจาก 500 ระบบ มีถึง 371 ระบบ (คิดเป็น 74.2%) ให้ลินุกซ์แบบใดแบบหนึ่งเครื่องเล่นเกม โซนี่ เพลย์สเตชัน 3 ที่ออกในปี พ.ศ. 2549 รันลินุกซ์ โซนียังได้ปล่อย PS2 Linux สำหรับใช้กับเพลย์สเตชัน 2 อีกด้วย ผู้พัฒนาเกมอย่าง Atari และ id Software ก็เคยออกซอฟต์แวร์เกมบนลินุกซ์มาแล้ว

การติดตั้ง

การติดตั้งโดยทั่วไป จะติดตั้งผ่านซีดีที่มีโปรแกรมบรรจุอยู่ในแผ่นซึ่งแผ่นซีดีนั้นสามารถหามาได้หลายวิธี เช่นสามารถเบิร์นได้จาก ISO image ที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต หรือสามารถหาซื้อซีดีได้ในราคาถูกโดยอาจจะซื้อรวมหรือแยกพร้อมกับคู่มือ เนื่องจากสัญญาอนุญาตของโปรแกรมเป็นแบบ GPL ลินุกซ์จากผู้จัดทำบางตัวเช่น เดเบียน สามารถติดตั้งได้จากโปรแกรมขนาดเล็กผ่านฟลอปปีดิสก์ ซึ่งเมื่อติดตั้งส่วนหนึ่งสำเร็จ ตัวโปรแกรมของมันเองจะดาวน์โหลดส่วนอื่นเพิ่มขึ้นมาผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือสำหรับบางตัวเช่นอูบุนตุ สามารถทำงานได้ผ่านซีดีโดยติดตั้งในแรมในช่วงที่เปิดเครื่องการทำงานของลินุกซ์สามารถติดตั้งได้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง จนถึงเครื่องที่สมรรถนะต่ำ ที่ไม่มีฮาร์ดไดรฟ์หรือมีแรมน้อยโดยทำงานเป็นเครื่องไคลเอนต์โดยที่เครื่องไคลเอนต์ สามารถบูตและเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆผ่านทางเน็ตเวิร์กจากเครื่องเทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งวิธีการนี้ยังคงช่วยให้ประหยัดเวลาในการติดตั้งโปรแกรม เพราะติดตั้งเพียงเครื่องเดียวที่เทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงราคาของเครื่องไคลเอนต์ที่ไม่จำเป็นต้องมีสมรรถภาพสูงซึ่งมีราคา ถูกกว่าเครื่องทั่วไป

ถ้ามันเหนื่อยเกินไป... ก็พาหัวใจกลับบ้าน



การเดินทางของชีวิต เราต่างก็เหนื่อยกันทั้งนั้น
และคงจะไม่มีใครกล้าพูดได้เต็มปากหรอกว่า
เส้นทางสายนี้ช่างสวยงาม และเต็มไปด้วยความสุข
มีคำเปรียบเทียบที่น่าคิดว่า
คนขลาด. . . คือคนที่ไม่กล้าออกเดินทาง
คนอ่อนแอ. . . มักตายไประหว่างทาง
คนแข็งแกร่งเท่านั้น. . . ที่ไปถึงจุดหมาย
แล้วตัวเราล่ะ อยากเป็นนักเดินทางแบบไหน
แล้วความแข็งแกร่งที่ว่านั้น
ฉันว่าเขาคงไม่ได้หมายถึงแค่เรื่องของร่างกาย
เพียงอย่างเดียว แน่นอน. . .
"ถ้ามันเหนื่อยเกินไป ก็พาหัวใจกลับบ้าน"